วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555


การเมืองไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ยุคที่ 4

ยุคที่สี่ ยุคกึ่งประชาธิปไตยหรือยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ (พ.ศ.2520 –พ.ศ.2535)

เราอาจจะให้นิยามคำว่า ประชาธิปไตยแบบครึ่งใบได้ดังต่อไปนี้
ประการแรก เป็นอุบายของรัฐบาลที่ประสงค์จะครองอำนาจให้ยาวนานที่สุดโดยกำหนดในรัฐธรรมนูญในประเด็นสำคัญที่สุด 2 ประเด็น คือ
  • (1) นายกรัฐมนตรีไม่ต้องผ่านการรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. 
  • (2) ข้าราชการประจำและทหารจะดำรงตำแหน่งข้าราชการประจำ และดำรงตำแหน่งทางการเมืองไปพร้อม ๆ กันได้ในชั่วขณะหนึ่งภายใต้บทเฉพาะกาล

       หลังจากนั้นจะต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง พร้อมทั้งการลดอำนาจของวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งลงไป ซึ่งเหตุการณ์นี้ทำให้ทหารบางพวกพยายามเปลี่ยนรัฐธรรมนูญ โดยอ้างเหตุผลที่ว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521 ไม่เปิดทางให้ข้าราชการทหารและข้าราชการพลเรือน ซึ่งมีความรู้ความสามารถเข้าไปรับใช้ทางการเมือง ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับประเทศไทย ถึงแม้ว่าความพยายามที่จะแก้รัฐธรรมนูญประสบความล้มเหลวหลายครั้ง แต่ก็เป็นเรื่องที่ได้สร้างความไม่สงบทางการเมืองให้เกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ

ประการที่สอง ประชาธิปไตยแบบครึ่งใบสะท้อนให้เห็นถึงการมองการเมืองในลักษณะมองความเป็นจริงในประเด็นของการสร้างสถาบัน อันที่จริงเป็นการผสมของเก่าและของใหม่ เป็นที่ทราบกันในหมู่ผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองไทยว่า ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงมากมายทางสังคมก็ตาม แต่โครงสร้างทางอำนาจและสถาบันทางสังคมก็ยังเกือบจะเหมือนเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนเกี่ยวกับทหารและข้าราชการพลเรือน กลุ่มผู้นำเหล่านี้จะยังคงมีบทบาทสำคัญต่อไปในทางการเมืองไทย 

ในยุคประชาธิปไตยครึ่งใบเป็นความพยายามในการแบ่งสรรอำนาจและการใช้อำนาจร่วมกันระหว่างฝ่ายข้าราชการประจำกับฝ่ายนักการเมือง การผสมผสานในการใช้อำนาจทางการเมืองดังกล่าวยังคงดำรงความขัดแย้งระหว่างกลุ่มขั้วอำนาจ โดยเฉพาะในฝ่ายข้าราชการประจำ ความขัดแย้งดังกล่าวได้ประทุให้เห็นจากความพยายามในการทำรัฐประหารหลายครั้งหลายหนแต่ไม่ประสบความสำเร็จ อาทิ ความพยายามทำรัฐประหารของกลุ่มนายทหารหนุ่ม เมื่อวันที่ 1 – 3 เมษายน พ.ศ.2524 และอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 9กันยายน พ.ศ.2528 
ข้อสังเกตของการพัฒนาการของ 
ประชาธิปไตยครึ่งใบ” มีอยู่หลายประการ พอสรุปได้คือ

ประการที่หนึ่ง ความร่วมมือในการปกครองประเทศระหว่างฝ่ายข้าราชการประจำ โดยคณะทหารกับฝ่ายนักการเมือง เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่จะนำไปสู่ระบอบประชาธิปไตยเต็มใบได้ โดยเฉพาะฝ่ายทหารเองจำนวนไม่น้อยที่เริ่มเห็นความสำคัญของระบอบประชาธิปไตยว่าเป็นระบอบที่ควรสนับสนุนต่อไปในสังคมไทย โดยอาจกล่าวได้ว่าระบอบประชาธปิไตยเป็นระบอบการเมืองการปกครองที่เลวน้อยที่สุด ที่ทำให้เกิดการยอมรับได้ในระดับหนึ่ง

ประการที่สอง สภาพทางสังคม เศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะนำประเทศไปสู่ระบอบประชาธิปไตยแบบทุนนิยมมากขึ้น ซึ่งสภาพแวดล้อมดังกล่าวเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนได้เข้ามามีบทบาทในทางการเมืองมากขึ้น และนำไปสู่ที่มาของ นักธุรกิจการเมือง” และนักการเมืองธุรกิจ” ที่ต่างฝ่ายก็อาศัยโอกาสในการดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว

ประการที่สาม ปัญหาความแตกต่างทางด้านลัทธิการเมือง หรืออุดมการณ์ทางการเมือง และปัญหาการก่อการร้ายคอมมิวนิสต์มีการแก้ไขอย่างชาญฉลาดและค่อยเป็นค่อยไป โดยการยอมรับจากทุกฝ่ายทำให้ช่วยลดความกดดันทางการเมืองและการทหารทั้งจากภายในประเทศและต่างประเทศอย่างเห็นได้ชัด

       จากช่วงรัฐบาลของพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ที่สืบต่อโดยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และนำไปสู่รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ซึ่งก้าวขึ้นสู่อำนาจเมื่อเดือนสิงหาคม 2531เป็นสถานการณ์ที่น่าจะนำไปสู่ ประชาธิปไตยเต็มใบ” ได้อย่างราบรื่น แต่เหตุการณ์ในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ได้ทำให้สถานการณ์ของการเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายข้าราชการประจำ โดยเฉพาะคณะทหารกับฝ่ายนักการเมืองหวนกลับมาอีกครั้งหนึ่ง และนำไปสู่การรัฐประหารเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)
สภาวะของธุรกิจการเมืองแบบธนาธิปไตยและวณิชยาธิไตย ได้นำไปสู่ข่าวลือเกี่ยวกับการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างหนักในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ จนทำให้เกิดความหวั่นวิตกกันทั่วไปว่า จะนำประเทศไปสู่ความหายนะ เพราะพันธะผูกพันที่ทำกับบรรษัทต่างชาติในโครงการใหญ่ ๆ ขณะเดียวกัน ความอหังการ์ของนักการเมืองโดยเฉพาะรัฐมนตรีบางท่านที่ออกมาปะทะคารมกับนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ก่อให้เกิดความตึงเครียดทางการเมืองเป็นอย่างยิ่ง แต่เหนือสิ่งอื่นใดทั้งหมดคือ การปรับเปลี่ยนตำแหน่งในกองทัพบก ซึ่งมีผลต่อเสถียรภาพทางการเมือง โดยพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ได้ลาออกจากราชการและเข้าร่วมกับรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ โดยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในขณะที่พลเอกสุจินดา คราประยูร ได้เข้าดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก และพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งทุกอย่างก็เข้าแนว กล่าวคือ ทางฝ่าย จปร. รุ่น ได้คุมกำลังและดำรงตำแหน่งสำคัญในกองทัพบก ขณะเดียวกันก็มีอดีตผู้บังคับบัญชาเป็นรัฐมนตรีกลาโหม
       แต่เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองที่พัฒนาต่อมาก็คือ การที่พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ได้ไปปราศรัยที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยเรื่องการฉ้อราษฎร์บังหลวง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ได้ออกมาตอบโต้จนผลสุดท้ายพลเอกชวลิตได้ลาออกจากตำแหน่งทางการเมือง ทำให้เกิดช่องว่างทางอำนาจขึ้น พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ได้ควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมด้วย และต่อมาได้เชิญหัวหน้าพรรคปวงชนชาวไทย พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก มาดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ความสัมพันธ์ระหว่างนายทหารแห่งกองทัพบก จปร. รุ่น และรัฐบาลเริ่มตึงเครียดขึ้น การพบปะรับประทานอาหารเช้าในวันพุธเป็นประจำระหว่างนายทหารชั้นผู้ใหญ่และนายกรัฐมนตรีเริ่มขาดตอน สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดยิ่งขึ้น
       ฟางเส้นสุดท้ายบนหลังอูฐคือ การที่พลเอกชาติชาย ขุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจแต่งตั้งพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม โดยอ้างว่าเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของตน ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 พลเอกชาติชาย และพลเอกอาทิตย์ มีกำหนดการเดินทางด้วยเครื่องบินเพื่อไปเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เชียงใหม่ แต่ก็กลายเป็นกับดักตกอับที่สนามบินกองทัพอากาศ โดยเป็นการรัฐประหารของคณะที่เรียกตนเองว่า คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ(รสช.) โดยมี พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นหัวหน้าคณะ รสช. พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก พลอากาศเอกเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลเรือเอกประพัฒน์ กฤษณจันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นรองหัวหน้าคณะฯ และมีพลเอกอิสระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก เป็นเลขานุการ

เหตุผลของการรัฐประหารมี ข้อ คือ
  • 1. มีการทุจริตคอรัปชันในบรรดารัฐมนตรีร่วมรัฐบาลอย่างกว้างขวาง
  • 2. ข้าราชการการเมืองรังแกข้าราชการประจำ
  • 3. รัฐบาลเป็นเผด็จการทางรัฐสภา
  • 4. มีการพยายามทำลายสถาบันทหาร
  • 5. บิดเบือนคดีวันลอบสังหารซึ่งมีจุดมุ่งหมายล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์

       รสช. ได้เลือก นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี และได้มีการแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติขึ้น รวมทั้งการแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญขึ้น 20 คน มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินผู้ที่มีพฤติกรรมร่ำรวยผิดปกติ ซึ่งมีอดีตรัฐมนตรีหลายคนเป็นผู้อยู่ในข่ายสงสัย
ในขณะเดียวกันก็มีการเคลื่อนไหวในการตั้งพรรคการเมืองโดยสมาชิกบางคนของ รสช. ที่เห็นเด่นชัด คือ พรรคสามัคคีธรรม และยังมีความพยายามที่จะเข้าคุมพรรคการเมืองที่มีอยู่โดยส่งคนสนิทเข้าสู่ตำแหน่งกรรมการ บริหารพรรค เช่นกรณีของพรรคชาติไทยและพรรคกิจสังคม เป็นต้น
       แต่ที่เป็นประเด็นสำคัญคือ ความเป็นอิสระของรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน ซึ่งไม่ยอมอยู่ใต้อาณัติทหารและบริหารบ้านเมืองด้วยความสะอาด บริสุทธิ์ ตามหลักวิชาการ จนเกิดความรู้สึกว่ามีความขัดแย้งกันขึ้นระหว่าง รสช. และรัฐบาล นอกเหนือจากนั้นประเด็นการแปรญัตติรัฐธรรมนูญฉบับที่ร่างโดยคณะกรรมการชุดแรก 20 คน โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญ 25 คน ได้นำไปสู่ความขัดแย้งอย่างหนัก โดยเฉพาะบทเฉพาะกาลที่เปิดทางให้ข้าราชการประจำดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองได้ อำนาจของวุฒิสมาชิกในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และตัวนายกรัฐมนตรีที่ไม่จำเป็นต้องผ่านการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น
       การประท้วงรัฐธรรมนูญที่ขาดความเป็นประชาธิปไตยได้นำไปสู่ความตึงเครียดทางการเมือง จนต้องมีการห้ามทัพกัน เหตุการณ์สำคัญคือ พลเอกสุจินดา คราประยูร ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ตนและพลอากาศเอกเกษตร โรจนนิล จะไม่รับตำแหน่งทางการเมืองใด ๆ ผลสุดท้ายรัฐธรรมนูญก็ผ่านสภาทั้งสามวาระโดยมีข้อขัดแย้งที่จะนำไปสู่ปัญหาในอนาคต คือ
  • 1. ตัวนายกรัฐมนตรีจะมาจาก ส.ส. หรือคนนอก ในรัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุไว้
  • 2. อำนาจวุฒิสมาชิกซึ่งมีอำนาจในการร่วมอภิปรายและลงมติในการไม่ไว้วางใจรัฐบาล และพระราชกำหนด
  • 3. ประธานรัฐสภามาจากประธานวุฒิสภาตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2521 ได้มีการแก้ไขให้ประธานรัฐสภามาจากประธานสภาผู้แทนราษฎร
  • 4. เขตการเลือกตั้งได้เปลี่ยนเป็นเขตละ คน เหมือนรัฐธรรมนูญปี 2521

       แต่ที่เป็นปัญหามากที่สุด คือ คุณสมบัติของตัวนายกรัฐมนตรีและอำนาจวุฒิสมาชิก
นอกจากนั้นยังมีประเด็นปัญหาที่หลงลืม คือ ในบทเฉพาะกาลให้ประธาน รสช. เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี แทนที่จะเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญก็ยกเลิกธรรมนูญการปกครองชั่วคราว และจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 22 มีนาคม 2535       ทันทีที่เลือกตั้งเสร็จ ก็มีการประชุมพรรคห้าพรรคที่บ้านพักกองบัญชาการทหารอากาศ ประกาศแต่งตั้งรัฐบาล โดยต่อมาก็ได้เสนอชื่อนายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม เป็นนายกรัฐมนตรี ขณะเดียวกันก็มีกระแสต้านการเอาคนนอกมาเป็นนายกรัฐมนตรี แต่การดำรงตำแหน่งของนายณรงค์ วงศ์วรรณ มีปัญหาเพราะถูกตั้งข้อสงสัยว่าพัวพันกับธุรกิจที่ไม่ชอบมาพากล จนทางสหรัฐอเมริกางดวีซ่าเข้าเมือง ประเด็นสำคัญดังกล่าวได้นำไปสู่การถอยฉากของพรรคที่จะร่วมรัฐบาลทั้งห้าพรรค ผลสุดท้ายก็มีการเสนอชื่อพลเอกสุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยพลเอกสุจินดากล่าวว่า ที่เข้ารับตำแหน่งและยอมเสียคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ก็เพราะ “เสียสัตย์เพื่อชาติ
       แต่หนทางทางการเมืองของพลเอกสุจินดาก็ไม่ราบเรียบ เริ่มมีการประท้วงการดำรงตำแหน่งของพลเอกสุจินดา เริ่มต้นด้วยการอดอาหารของ ร.ต.ฉลาด วรฉัตร และร่วมด้วยนางประทีป ฮาตะ นอกจากนั้นก็มีการร่วมประท้วงโดยนิสิตนักศึกษา และประชาชนทั่วไป ต่อมา พลตรีจำลอง ศรีเมือง ก็ได้ประกาศอดอาหารเพื่อประท้วงด้วย และขอให้พลเอกสุจินดาลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี การประท้วงมีติดต่อกันหลายคืน บางครั้งประชาชนที่ร่วมประท้วงมีเป็นจำนวนแสน ข้อสังเกตคือ คนจำนวนหนึ่งเป็นชนชั้นกลาง ทำงานภาคเอกชน มีโทรศัพท์มือถือ ขับรถเก๋งส่วนตัว ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเป็นชนชั้นกลาง และก็ไม่ใช่มวลชนจัดตั้งทั้งหมด
       พลเอกสุจินดา คราประยูร ประสบปัญหาสำคัญ ข้อ คือ การขาดความชอบธรรมทางการเมือง แม้จะไม่ขัดรัฐธรรมนูญในการเข้าสู่ตำแหน่ง การขาดความน่าเชื่อถือเนื่องจากไม่รักษาคำมั่นสัญญา และขาดฐานประชาชนสนับสนุน มีแค่ฐานทหารและวุฒิสมาชิก ข้อสำคัญไม่มีโอกาสได้แสดงผลงานให้ปรากฏเพื่อสร้างความชอบธรรม
ผลที่สุด การประท้วงเรียกร้องของประชาชนก็นำไปสู่การปะทะกับกำลังของเจ้าหน้าที่ ทำให้เกิดการใช้กำลังเข้าปราบปรามประชาชน จนมีการเสียชีวิตตามตัวเลขของทางราชการกว่า 40 คน แต่ที่หายสาบสูญมีจำนวนมาก เหตุการณ์สงบลงโดยพระบารมีปกเกล้าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในคืนวันที่ 20 พฤษภาคม 2535 ต่อมา พลเอกสุจินดา คราประยูร ก็ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้แต่งตั้งนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งนายอานันท์ก็ได้ประกาศยุบสภา และกำหนดการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 13 กันยายน 2535 ขณะเดียวกันรัฐสภาก็ได้มีการประชุมแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นที่ขัดต่อระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยเฉพาะประเด็นเรื่องนายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส.
เหตุการณ์เมื่อวันที่ 17 – 20 พฤษภาคม 2535 ที่เรียกว่า พฤษภาทมิฬ” นั้น มองได้ว่าเป็นการช่วงชิงอำนาจระหว่างทหารกับชนชั้นกลาง



เหตุการณ์ในสมัยรัฐบาลพลเอกสุจินด


เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เป็นเหตุการณ์ที่ประชาชนเคลื่อนไหวประท้วงรัฐบาลที่พลเอกสุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี และต่อต้านการสืบทอดอำนาจของ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ระหว่างวันที่ 17-20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นการรัฐประหารรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 นำไปสู่เหตุการณ์ปราบปรามและปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารกับประชาชนผู้ชุมนุม มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก (พลเอกสุจินดาแถลงว่ามีผู้เสียชีวิต 40 คน บาดเจ็บ 600 คน) [1] และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง



ชนวนเหตุ

เหตุการณ์ครั้งนี้ เริ่มต้นมาจากเหตุการณ์รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 หรือ 1 ปีก่อนหน้าการประท้วง ซึ่ง รสช. ได้ยึดอำนาจจากรัฐบาล ซึ่งมีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็น นายกรัฐมนตรี โดยให้เหตุผลหลักว่า มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างหนักในรัฐบาล และรัฐบาลพยายามทำลายสถาบันทหาร โดยหลังจากยึดอำนาจ คณะ รสช. ได้เลือก นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ มีการแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติขึ้น รวมทั้งการแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 20 คน เพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่
หลังจากร่างรัฐธรรมนูญสำเร็จ ก็ได้มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 โดยพรรคที่ได้จำนวนผู้แทนมากที่สุดคือ พรรคสามัคคีธรรม (79 คน) ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดยมีการรวมตัวกับพรรคร่วมรัฐบาลอื่น ๆ คือ พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม และพรรคราษฎร[2] และมีการเตรียมเสนอนายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรมในฐานะหัวหน้าพรรคที่มีผู้แทนมากที่สุด ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ปรากฏว่า ทางโฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา นางมาร์กาเร็ต แท็ตไวเลอร์ ได้ออกมาประกาศว่า นายณรงค์ นั้นเป็นผู้หนึ่งที่ไม่สามารถขอวีซ่าเดินทางเข้าสหรัฐฯ ได้ เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับนักค้ายาเสพติด
ในที่สุด จึงมีการเสนอชื่อ พลเอกสุจินดา คราประยูร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน ซึ่งเมื่อได้รับพระราชทานแต่งตั้งอย่างเป็นทางการแล้ว ก็เกิดความไม่พอใจของประชาชนในวงกว้าง เนื่องจากก่อนหน้านี้, ในระหว่างที่มีการทักท้วงโต้แย้งเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นมาใหม่ว่า ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย, ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ได้ถูกประกาศใช้

[แก้]พรรคเทพ พรรคมาร

พรรคเทพ พรรคมาร เป็นคำที่สื่อมวลชนใช้เรียกกลุ่มพรรคการเมืองในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ที่แบ่งแยกเป็น 2 ฝ่ายชัดเจน พรรคที่ถูกเรียกว่า พรรคเทพคือพรรคที่ประกาศตัวเป็นฝ่ายค้าน ไม่สนับสนุนการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้นำคณะรัฐประหาร รสช. ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และได้ประกาศต่อสาธารณะมาตลอดว่าจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยที่กระแส "นายกฯ ต้องมาจากการเลือกตั้ง" เป็นกระแสหลักของสังคมไทยในขณะนั้น พรรคเทพ ประกอบด้วย 4 พรรคการเมืองคือ พรรคความหวังใหม่ (72 เสียง) พรรคประชาธิปัตย์ (44 เสียง) พรรคพลังธรรม (41 เสียง) และพรรคเอกภาพ (6 เสียง)
ในขณะที่ พรรคมาร คือพรรคที่สนับสนุนพลเอกสุจินดา คราประยูร ประกอบด้วยพรรคการเมือง 5 พรรค ได้แก่ พรรคสามัคคีธรรม (79 เสียง) พรรคชาติไทย (74 เสียง) พรรคกิจสังคม (31 เสียง) พรรคประชากรไทย (7 เสียง) และพรรคราษฎร (4 เสียง) ซึ่งก่อนเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬมีกระแสเรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง และทั้ง 5 พรรคนี้ต่างเคยตอบรับมาก่อน แต่ในที่สุดกลับหันมาสนับสนุนพลเอกสุจินดา คราประยูร และเห็นว่าเป็นการพยายามสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร (รสช.)

การต่อต้านของประชาชน


การชุมนุมในเวลากลางคืนที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
พลเอกสุจินดา คราประยูร ได้ให้สัมภาษณ์หลายครั้งว่า ตนและสมาชิกในคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติจะไม่รับตำแหน่งทางการเมืองใด ๆ แต่ภายหลังได้มารับตำแหน่งรัฐมนตรี ซึ่งไม่ตรงกับที่เคยพูดไว้ เหตุการณ์นี้ จึงได้เป็นที่มาของประโยคที่ว่า "เสียสัตย์เพื่อชาติ" และเป็นหนึ่งในชนวนให้ฝ่ายที่คัดค้านรัฐธรรมนูญฉบับนี้ทำการเคลื่อนไหวอีกด้วย
การรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกสุจินดา ดังกล่าว นำไปสู่การเคลื่อนไหวคัดค้านต่าง ๆ ของประชาชน รวมถึงการอดอาหารของ ร้อยตรีฉลาด วรฉัตร และ พลตรีจำลอง ศรีเมือง (หัวหน้าพรรคพลังธรรมในขณะนั้น) สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ที่มีนายปริญญา เทวานฤมิตรกุล เป็นเลขาธิการ ตามมาด้วยการสนับสนุนของพรรคฝ่ายค้านประกอบด้วยพรรคประชาธิปัตย์พรรคเอกภาพพรรคความหวังใหม่และพรรคพลังธรรม โดยมีข้อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง และเสนอว่าผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง
หลังการชุมนุมยืดเยื้อตั้งแต่เดือนเมษายน เมื่อเข้าเดือนพฤษภาคม รัฐบาลเริ่มระดมทหารเข้ามารักษาการในกรุงเทพมหานคร และเริ่มมีการเผชิญหน้ากันระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารในบริเวณราชดำเนินกลาง ทำให้สถานการณ์ตึงเครียดมากขึ้นเรื่อย ๆ
กระทั่งในคืนวันที่ 17 พฤษภาคม ขณะที่มีการเคลื่อนขบวนประชาชนจากสนามหลวงไปยังถนนราชดำเนินกลางเพื่อไปยังหน้าทำเนียบรัฐบาล ตำรวจและทหารได้สกัดการเคลื่อนขบวนของประชาชน เริ่มเกิดการปะทะกันระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในบางจุด และมีการบุกเผาสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง จากนั้นเมื่อเข้าสู่วันที่ 18 พฤษภาคม รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงเทพมหานครและให้ทหารทำหน้าที่รักษาความสงบ แต่ได้นำไปสู่การปะทะกันกับประชาชน มีการใช้กระสุนจริงยิงใส่ผู้ชุมนุมในบริเวณถนนราชดำเนินจากนั้นจึงเข้าสลายการชุมนุมในเข้ามืดวันเดียวกันนั้น ตามหลักฐานที่ปรากฏมีผู้เสียชีวิตหลายสิบคน
เวลา 15.30 นาฬิกา ของวันที่ 18 พฤษภาคม ทหารได้ควบคุมตัวพลตรีจำลอง ศรีเมือง จากบริเวณที่ชุมนุมกลางถนนราชดำเนินกลาง และรัฐบาลได้ออกแถลงการณ์หลายฉบับและรายงานข่าวทางโทรทัศน์ของรัฐบาลทุกช่องยืนยันว่าไม่มีการเสียชีวิตของประชาชน แต่การชุมนุมต่อต้านของประชาชนยังไม่สิ้นสุด เริ่มมีประชาชนออกมาชุมนุมอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ทั่วกรุงเทพ โดยเฉพาะที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง พร้อมมีการตั้งแนวป้องกันการปราบปรามตามถนนสายต่าง ๆ ขณะที่รัฐบาลได้ออกประกาศจับแกนนำอีกเจ็ดคน คือ นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล, เหวง โตจิราการสันต์ หัตถีรัตน์, นายสมศักดิ์ โกศัยสุข, นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะจิตราวดี วรฉัตร และนายวีระ มุสิกพงศ์ โดยระบุว่าบุคคลเหล่านี้ยังคงชุมนุมไม่เลิก และยังปรากฏข่าวรายงานการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชนในหลายจุดและเริ่มเกิดการปะทะกันรุนแรงมากขึ้นในคืนวันนั้นในบริเวณถนนราชดำเนิน
19 พฤษภาคม เจ้าหน้าที่เริ่มเข้าควบคุมพื้นที่บริเวณถนนราชดำเนินกลางได้ และควบคุมตัวประชาชนจำนวนมากขึ้นรถบรรทุกทหารไปควบคุมไว้พลเอกสุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรี แถลงการณ์ย้ำว่าสถานการณ์เริ่มกลับสู่ความสงบและไม่ให้ประชาชนเข้าร่วมชุมนุมอีก แต่ยังปรากฏการรวมตัวของประชาชนใหม่ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงในคืนวันเดียวกัน และมีการเริ่มก่อความไม่สงบเพื่อต่อต้านรัฐบาลโดยกลุ่มจักรยานยนต์หลายพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร เช่นการทุบทำลายป้อมจราจรและสัญญาณไฟจราจร
วันเดียวกันนั้นเริ่มมีการออกแถลงการณ์เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่งเพื่อรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของประชาชน ขณะที่สื่อของรัฐบาลยังคงรายงานว่าไม่มีการสูญเสียชีวิตของประชาชน แต่สำนักข่าวต่างประเทศได้รายงานภาพของการสลายการชุมนุมและการทำร้ายผู้ชุมนุม หนังสือพิมพ์ในประเทศไทยบางฉบับเริ่มตีพิมพ์ภาพการสลายการชุมนุม ขณะที่รัฐบาลได้ประกาศให้มีการตรวจและควบคุมการเผยแพร่ข่าวสารทางสื่อมวลชนเอกชนในประเทศ
ซึ่งการชุมนุมในครั้งนี้ ด้วยผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางในเขตตัวเมือง เป็นนักธุรกิจหรือบุคคลวัยทำงาน ซึ่งแตกต่างจากเหตุการณ์ 14 ตุลา ในอดีต ซึ่งผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เป็นนิสิต นักศึกษา ประกอบกับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือที่เพิ่งเข้ามาในประเทศไทย และใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสารในครั้งนี้ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬนี้จึงได้ชื่อเรียกอีกชื่อนึงว่า "ม็อบมือถือ"

[แก้]ไอ้แหลม

ไอ้แหลม เป็นชื่อที่เรียกบุคคลลึกลับซึ่งไม่ทราบว่าเป็นผู้ใดจนถึงทุกวันนี้ เป็นชายที่ส่งเสียงรบกวนวิทยุสื่อสารของทหารและตำรวจตลอดระยะเวลาการชุมนุม โดยมักกวนเป็นเสียงแหลมสูง และมีประโยคด่าทอรัฐบาล ทหารและตำรวจด้วยวาทะที่เจ็บแสบ[3]

[แก้]แผนไพรีพินาศ

แผนไพรีพินาศ เป็นแผนยุทธการจัดวางกองกำลังและสลายการชุมนุม ในลักษณะของแผนเผชิญเหตุ จัดทำขึ้นโดยกองกำลังรักษาพระนครตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสงบ ได้แก่ ทหาร ตำรวจ และข้าราชการพลเรือน นำไปปฏิบัติ ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 และ พ.ศ. 2529 ได้มีการพัฒนาปรับปรุงแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์มากขึ้น
ส่วนแผนที่มีผลบังคับใช้ขณะเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ คือ แผนไพรีพินาศ/33 ซึ่งมี 4 ขั้นตอน ได้แก่
  1. ขั้นการเตรียมการ โดยให้ทุกกองกำลังออกหาข่าว รวบรวมข่าวสาร และเตรียมกำลัง เจ้าหน้าที่ รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการปฏิบัติการ
  2. ขั้นป้องกัน ใช้กองกำลังตำรวจในการสกัดกั้น ให้การประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้ก่อความไม่สงบ ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์โดยถูกต้องและยุติการกระทำเอง ทางเจ้าหน้าที่จะปิดล้อมพื้นที่สำคัญ เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งอารักขาสถานที่และบุคคลสำคัญของประเทศ
  3. ขั้นปราบปรามรุนแรง หากการปฏิบัติการขั้นที่ 2 หรือกองกำลังตำรวจไม่สามารถที่จะระงับสถานการณ์ได้สำเร็จ และสถานการณ์ทวีความรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมได้แล้ว จึงใช้กองกำลังของกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ เข้าระงับยับยั้งยุติภัยคุกคาม
  4. ขั้นสุดท้าย คือ การส่งมอบพื้นที่และความรับผิดชอบ ให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนหรือตำรวจรับผิดชอบต่อไป เมื่อสถานการณ์คลี่คลายแล้ว

[แก้]พระราชทานพระราชดำรัส

เมื่อเวลาประมาณ 20.00 นาฬิกา ของวันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ประธานองคมนตรี และพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรีและรัฐบุรุษ นำพลเอกสุจินดา คราประยูรนายกรัฐมนตรี และพลตรีจำลอง ศรีเมือง เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท โอกาสนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานพระราชดำรัสแก่คณะผู้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทด้วย ทั้งนี้ มีการนำเทปบันทึกภาพเหตุการณ์ดังกล่าว ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เมื่อเวลา 24.00 นาฬิกา ของวันนั้นด้วย หลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์พลเอกสุจินดา จึงกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมอบหมายให้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ รองนายกรัฐมนตรี รักษาการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไปพลางก่อน

[แก้]ลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ถึง พ.ศ. 2535


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้พลเอกสุจินดา และพลตรีจำลอง เข้าเฝ้า
พ.ศ. 2534
พ.ศ. 2535
  • 22 มีนาคม - มีการเลือกตั้งใหญ่ทั่วประเทศ พรรคสามัคคีธรรม ของนายณรงค์ วงศ์วรรณ ได้รับเลือกตั้งมาเป็นลำดับหนึ่ง แต่ถูกขึ้นบัญชีดำผู้ค้ายาเสพย์ติดจากสหรัฐอเมริกา
  • 7 เมษายน -พลเอกสุจินดา คราประยูร ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
  • 8 เมษายน - ร้อยตรีฉลาด วรฉัตร เริ่มอดอาหารประท้วงวันแรก
  • 17 เมษายน - มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
  • 20 เมษายน - พรรคฝ่ายค้านเริ่มการปราศรัยที่ลานพระบรมรูปทรงม้ามีผู้ร่วมชุมนุมเกือบ100,000คน
  • 4 พฤษภาคม -พลตรีจำลอง ศรีเมือง เริ่มอดอาหารประท้วงวันแรก
  • 7 พฤษภาคม -พลเอกสุจินดา แถลงนโยบายต่อรัฐสภา แต่พรรคฝ่ายค้านไม่เข้าร่วม ขณะเดียวกันบริเวณหน้ารัฐสภามีผู้ชุมนุมร่วมประท้วง จนต้องมีการปิดประชุมโดยกระทันหัน
  • 8 พฤษภาคม -พลเอกสุจินดา แถลงถึงเหตุผลที่ต้องมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
  • 9 พฤษภาคม - นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานรัฐสภาประสานให้พรรคร่วมรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านร่วมกันตกลงว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญบางประการ และพลตรีจำลอง ประกาศเลิกอดอาหาร
  • 11 พฤษภาคม -พลตรีจำลอง ประกาศสลายการชุมนุมและประกาศชุมนุมใหม่อีกครั้งในวันที่ 17 พฤษภาคม หากในวันที่ 15 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันที่พรรคร่วมรัฐบาลให้สัญญาว่าจะแถลงถึงเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่มีความคืบหน้า
  • 15 พฤษภาคม - พรรคร่วมรัฐบาลเปลี่ยนท่าทีเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยอ้างว่าเป็นการให้สัมภาษณ์โดยพลการของ นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยอ้างว่าจะแก้ให้มีบทเฉพาะกาล ว่า นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง ซึ่งพลเอกสุจินดา ต้องดำรงตำแหน่งจนครบวาระ 4 ปี เสียก่อน
  • 17 พฤษภาคม - รัฐบาลจัดคอนเสิร์ตต้านภัยแล้งสกัดม็อบที่สนามกีฬากองทัพบกและวงเวียนใหญ่ โดยขนรถสุขาของกรุงเทพ ฯ มาไว้ที่นี่หมด ช่วงเที่ยงคืนเริ่มเกิดการตำรวจปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมกับตำต่อเนื่องถึงเช้าวันที่ 18 พฤษภาคม
  • 18 พฤษภาคม - ก่อนรุ่งสาง รัฐบาลเริ่มนำทหารจัดการกับผู้ชุมนุมอย่างรุนแรงและประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เวลาบ่ายพลตรีจำลอง ศรีเมือง และผู้ชุมนุมบางส่วนถูกจับกุม
  • 19 พฤษภาคม - กลุ่มผู้ชุมนุมที่ไม่ได้ถูกจับกุมย้ายสถานที่ชุมนุมไปที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • 20 พฤษภาคม - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งให้ผู้นำทั้งสองฝ่าย คือพลเอกสุจินดา และพลตรีจำลอง เข้าเฝ้า โดยผู้ที่นำเข้าเฝ้าคือพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
  • 24 พฤษภาคม -พลเอกสุจินดา และพลตรีจำลอง แถลงการณ์ร่วมกันผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยและพลเอกสุจินดา ลาออกจากตำแหน่ง
  • 10 มิถุนายน - แกนนำจัดตั้งรัฐบาลเสนอชื่อพลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์ หัวหน้าพรรคชาติไทย เป็นนายกรัฐมนตรี แต่นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ รองหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม ในฐานะประธานสภาผู้แทนราษฎร และรักษาการประธานรัฐสภา ตัดสินใจนำชื่อนายอานันท์ ปันยารชุน ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อโปรดเกล้าฯ ให้ กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
  • 13 กันยายน - มีการเลือกตั้งใหญ่ทั่วทั้งประเทศ พรรคประชาธิปัตย์ได้รับคะแนนเสียงมาเป็นลำดับหนึ่ง นายชวน หลีกภัย ได้เป็นนายกรัฐมนตรี